ประวัติความเป็นมา

ประวัติจังหวัดลำปาง

จังหวัดลำปาง เป็นจังหวัดที่มีอายุเก่าแก่ไม่น้อยกว่า 1,300 ปี มีชื่อเรียกขานกันหลายชื่อ ซึ่งปรากฏหลักฐานตามตำนานต่าง ๆ รวม 11 ชื่อ ได้แก่ กุกกุฏนคร ลัมภกับปะนคร ศรีนครชัย นครเวียงคอกวัว เวียงดิน เขลางค์นคร นครลำปางคำเขลางค์ อาลัมภางค์ เมืองลคร และเมืองนครลำปาง จากการที่เรียกขานกันว่า “ กุกกุฏนคร ” แปลว่าเมืองไก่ ดังนั้น ตราประจำจังหวัดลำปาง คือ “ ไก่ขาว ”
จังหวัดลำปาง สร้างเมื่อ พ.ศ.1223 จากหนังสือพงศาวดารโยนกกล่าวว่า “ สุพรหมฤาษี ” สร้างเมืองเพื่อให้ เจ้าอนันตยศ โอรสพระนางจามเทวี ครองคู่กับเมืองหริภุญชัย (ลำพูน) ให้ชื่อเมืองว่า “ นครเขลางค์ ” ต่อมาเปลี่ยนเป็น “ นครอัมภางค์ ” และเปลี่ยนชื่อเป็น “ นครลำปาง ” ในภายหลัง
ในสมัยโยนกเชียงแสน นครลำปางเคยตกอยู่ภายใต้อำนาจของขอม เคยเป็นเมืองประเทศราชของพม่าและเมืองเชียงใหม่ ในสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี “ เจ้าทิพย์ช้าง ” สามารถขับไล่พวกพม่าออกจากเมืองลำปางได้สำเร็จ จึงได้รับการสถาปนาเป็น “ พระยาสุวลือไชยสงคราม ” ขึ้นครองนครลำปางในปี พ.ศ.2279
ในปี พ.ศ.2307 “ เจ้าแก้วฟ้า ” พระโอรสของเจ้าทิพย์ช้างได้ขึ้นครองนครลำปาง และเป็นต้นตระกูล ณ ลำปาง ณ ลำพูน รวมทั้ง ณ เชียงใหม่ ในเวลาต่อมา และมี “ เจ้าบุญวาทย์วงศ์มานิต ” เป็นผู้ครองนครลำปางองค์สุดท้าย
จังหวัดลำปางได้ประกาศจัดตั้งเป็นจังหวัด ในปี พ.ศ.2435 (สมัยรัชกาลที่ 5) โดยขึ้นอยู่กับมณฑลพายับสมัยหนึ่ง (พ.ศ.2443) ต่อมาแยกเป็นมณฑลมหาราษฎร์ ในปี พ.ศ.2458 ซึ่งในเวลาต่อมาได้มีประกาศยกเลิกมณฑลทั่วราชอาณาจักร ลำปางจึงมีฐานะเป็น “ จังหวัดลำปาง ” ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการอาณาจักรสยาม พ.ศ.2476

10

สัญลักษณ์จังหวัดลำปาง

01

ตราประจำจังหวัดลำปาง

รูปไก่ขาวยืนอยู่ในซุ้มมณฑปพระธาตุลำปางหลวง

หมายถึง ไก่เผือก เป็นสัญลักษณ์ที่มีมาตั้งแต่สมัยเมืองกุกุตตนคร (ตำนานเมืองลำปาง) และได้กลายเป็นสัญลักษณ์สำคัญ โดยปรากฏเครื่องหมายไก่เผือก คู่กับ ดวงตราแผ่นดินในศาลากลางเมืองลำปาง ตั้งแต่สมัยเริ่มเปลี่ยนที่ทำการเมืองจาก “เค้าสนามหลวง” เป็นศาลากลางเมืองนครลำปางขึ้น ในสมัยเริ่มสร้างศาลากลางหลังแรก เมื่อ พ.ศ. 2452

ซุ้มมณฑปที่วัดพระธาตุลำปางหลวง เป็นศิลปกรรมล้านนาที่งดงามมาก วัดพระธาตุลำปางหลวง เป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองลำปาง มีองค์พระเจดีย์ที่บรรจุพระบรมเกษาธาตุของพระพุทธเจ้า เป็นที่เคารพสักการะของพุทธศาสนิกชนทั่วโลก

คำขวัญของจังหวัดลำปาง

“ถ่านหินลือชา รถม้าลือลั่น เครื่องปั้นลือนาม

งามพระธาตุลือไกล ฝึกช้างใช้ลือโลก”

coal

ถ่านหินลือชา

horse_car

รถม้าลือลั่น

ceramic

เครื่องปั้นลือนาม

05

งามพระธาตุลือไกล

06

ฝึกช้างใช้ลือโลก

ธงประจำจังหวัดลำปาง

07

ดอกไม้ประจำจังหวัด

ชื่อดอกไม้ ดอกธรรมรักษา

flower

ต้นไม้ประจำจังหวัด

ชื่อพรรณไม้ กระเจา หรือ ขะจาว

ชื่อวิทยาศาสตร์ Holoptelea integrifolia

09

สภาพทั่วไป 

lpa

1. ที่ตั้งและอาณาเขต

จังหวัดลำปาง ตั้งอยู่ภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย ห่างจากกรุงเทพฯ ตามทางหลวงแผ่นดินสายพหลโยธิน ประมาณ 602 กม. ตามทางรถไฟประมาณ 625 กม. มีเนื้อที่ประมาณ 12,533.961 ตร.กม. หรือประมาณ 7,833,726 ไร่ มีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับ 5 ของภาคเหนือ รองจากเชียงใหม่ ตาก แม่ฮ่องสอน และเพชรบูรณ์ มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดข้างเคียงถึง 7 จังหวัด ดังนี้

ทิศเหนือ ติดต่อกับ จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย และพะเยา
ทิศใต้ ติดต่อกับ จังหวัดตาก
ทิศตะวันออก ติดต่อกับจังหวัดแพร่ และสุโขทัย
ทิศตะวันตก ติดต่อกับจังหวัดลำพูน

2. สภาพภูมิประเทศ

จังหวัดลำปาง อยู่สูงจากระดับน้ำทะเล 268.80 เมตร พื้นที่มีลักษณะเป็นรูปยาวรี ภูมิประเทศโดยทั่วไปเป็นที่ราบสูง มีภูเขาสูงอยู่ทั่วไป ทอดตัวยาวตามแนวทิศเหนือไปทางทิศใต้ของจังหวัด และในบริเวณตอนกลางของจังหวัดบางส่วนมีที่ราบลุ่มริมฝั่งแม่น้ำ และตามลักษณะทางกายภาพทางด้านธรณีสัณฐานวิทยา จังหวัดลำปางมีพื้นที่เป็นที่ราบล้อมรอบด้วยภูเขา มีลักษณะเป็นแอ่งแผ่นดินที่ยาวและกว้างที่สุดในภาคเหนือ เรียกว่า “ อ่างลำปาง ” ลักษณะภูมิประเทศแบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ คือ
บริเวณตอนบนของจังหวัด เป็นที่ราบสูง ภูเขา และเป็นป่าค่อนข้างทึบ อุดมสมบูรณ์ด้วยไม้มีค่า ได้แก่ พื้นที่อำเภอเมืองปาน แจ้ห่ม วังเหนือ และงาว

บริเวณตอนกลางของจังหวัด เป็นที่ราบและที่ราบลุ่มริมฝั่งแม่น้ำ ซึ่งเป็นแหล่งเกษตรกรรมที่สำคัญของจังหวัด ได้แก่ พื้นที่อำเภอห้างฉัตร เมืองลำปาง เกาะคา แม่ทะ และสบปราบ

บริเวณตอนใต้ของจังหวัด เป็นป่าไม้รัง บางส่วนเป็นทุ่งหญ้า ได้แก่ พื้นที่อำเภอเถิน แม่พริก บางส่วนของอำเภอเสริมงาม และแม่ทะ

3. สภาพภูมิอากาศ

จากลักษณะพื้นที่ของจังหวัดที่เป็นแอ่งคล้ายก้นกะทะ จึงทาให้อากาศร้อนอบอ้าวเกือบตลอดปี ฤดูร้อนร้อนจัด และหนาวจัดในฤดูหนาว ปี 2552 มีอุณหภูมิสูงสุด 42.30 องศาเซลเซียส ต่าสุด 13.0 องศาเซลเซียส ปริมาณน้าฝนวัดได้ 977 มิลลิเมตร ลักษณะภูมิอากาศ แบ่งออกได้เป็น 3 ฤดู คือ

ฤดูร้อน เริ่มประมาณต้นเดือน มีนาคม จนถึงกลางเดือน พฤษภาคม อากาศจะร้อนอบอ้าว ช่วง
ที่มีอากาศร้อนที่สุด คือ เดือนเมษายน

ฤดูฝน เริ่มประมาณกลางเดือน พฤษภาคม

ฤดูหนาว เริ่มประมาณเดือน พฤศจิกายน จนถึงเดือน กุมภาพันธ์ อากาศจะหนาวเย็น
ช่วงที่มีอากาศหนาวจัด คือ เดือนมกราคม
4. ประชากร

ปี 2553 จังหวัดลาปางมีประชากร จานวน 763,801 คน เป็นชาย 376,414 คน หญิง 387,387 คน อาเภอที่มีประชากรมากที่สุดได้แก่ อาเภอเมืองลำปาง รองลงไป คือ อำเภอเกาะคา อำเภอแม่ทะ และ อำเภอเถิน
(ข้อมูล ณ วันที่ 31 มีนาคม 2553)

5. ทรัพยากรธรรมชาติ

จังหวัดลำปาง มีทรัพยากรธรรมชาติที่หลากหลาย ทั้งทรัพยากรป่าไม้และทรัพยากรแร่ธาตุ

ทรัพยากรป่าไม้ จังหวัดลาปางมีเนื้อที่ป่าไม้ตามกฎกระทรวงที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 124 ตอนที่ 79 ก ลงวันที่ 12 พฤศจิกายน 2550 จานวน 33 ป่า เนื้อที่ 5,302,474 ไร่
ประเภท
จำนวน (แห่ง)
– ป่าสงวนแห่งชาติ

ทรัพยากรแร่ธาตุ      มีหลายชนิดล้วนเป็นวัตถุดิบที่สำคัญในทางอุตสาหกรรมทั้งสิ้น ประกอบด้วยถ่านหินลิกไนต์ ดินขาว หินอ่อน หินแกรนิต บอลเคย์ไลท์ พลวงและวุลแฟรม

สภาพการเมืองและการปกครอง

1. การปกครอง

จังหวัดลำปางแบ่งออกเป็น 13 อำเภอ 100 ตำบล 929 หมู่บ้าน 101 ชุมชน (เฉพาะชุมชนในเขตเทศบาลนครลำปาง และเทศบาลเมืองเขลางค์นคร) 1 องค์การบริหารส่วนจังหวัด 1 เทศบาลนคร 1 เทศบาลเมือง 37 เทศบาลตำบล 64 องค์การบริหารส่วนตำบล

2. การบริหารราชการ ส่วนราชการในจังหวัดลำปาง แบ่งออกเป็น 4 ลักษณะ

สภาพทางเศรษฐกิจ

1. ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด

สภาพทางเศรษฐกิจโดยรวมของจังหวัดลำปางในปี 2551 มีผลิตภัณฑ์มวล 47,535 ล้านบาท รายได้ส่วนใหญ่ ขึ้นอยู่กับสาขาการค้าส่งและค้าปลีกมากที่สุดถึงร้อยละ 18.55 คิดเป็นมูลค่า 9,001 ล้านบาท รองลงมาเป็นสาขาการอุตสาหกรรม และสาขาการศึกษา ตามลำดับ

(ที่มา : สนง.พัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ)

2. รายได้ประชากร

ในปี 2549 ประชากรจังหวัดลำปางมีรายได้เฉลี่ย 58,210 บาท/คน/ปี จัดอยู่ในอันดับ 11 ของภาคเหนือ และอันดับ 51 ของประเทศ

กราฟแสดงรายได้เฉลี่ยของประชาชนจังหวัดลำปาง ปี 2542 – 2551

L8_clip_image002

3.2 การคลัง รายได้

ปี 2552 จังหวัดลำปางมีรายได้จากการจัดเก็บภาษีอากร เป็นเงิน 1,455.856 ล้านบาท ลดลงจากปี 2551 จำนวน 31.26 ล้านบาท โดยรายได้ส่วนใหญ่มาจากภาษีเงินได้ส่วนบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีนิติบุคคล

(ที่มา : สำนักงานสรรพากรพื้นที่ลำปาง)
ปี 2552 มีรายได้จากการจัดเก็บภาษีสรรพสามิต รวมทั้งสิ้น 297,598,517.75 ล้านบาท รายได้ส่วนใหญ่ได้มาจากการจัดเก็บภาษีน้ำมัน ตามรายละเอียดดังนี้
1. ภาษีสุรา จำนวน 43,428,797.00 บาท
2. ภาษีเครื่องดื่ม จำนวน 48,164,282.68 บาท
3. ภาษีน้ำมัน จำนวน 201,279532.66 บาท
4. ภาษีรถจักรยานยนต์ จำนวน 264,789.00 บาท
5. ภาษีสถานบริการ จำนวน 988,935.51 บาท
6. เบ็ดเตล็ด จำนวน 3,427,679.90 บาท

ลักษณะโครงสร้างพื้นฐาน

1. ถนน
ในปี 2552 จังหวัดลำปาง มีระยะทางถนนที่ก่อสร้างแล้วเสร็จ ที่อยู่ในความรับผิดชอบ ของแขวงการทางลำปาง สำนักงานทางหลวงชนบทลำปางและสำนักงานบำรุงทางลำปางที่ 2 สภาพถนนส่วนใหญ่เป็นลาดยางและคอนกรีต รวมทั้งสิ้น 41 สายทาง ระยะทางทั้งสิ้น 1,163 กิโลเมตร

2. น้ำเพื่อการเกษตร

แหล่งน้ำชลประทานที่มีอยู่ภายในจังหวัดลำปาง ในปี 2552 ประกอบด้วย สระเก็บน้ำ 98 แห่ง ฝายน้ำล้น 139 แห่ง อ่างเก็บน้ำ 216 แห่ง ขุดลอกแหล่งน้ำ 165 แห่ง ศูนย์บริการเกษตรกรเคลื่อนที่ 117 แห่ง สระเก็บน้ำใน ไร่นา 1,612 แห่ง พื้นที่การเกษตรที่ได้รับประโยชน์จากโครงการชลประทานประเภทต่าง ๆ ที่ดำเนินการโดยกรมชลประทาน 630,878 ไร่ และพื้นที่ชลประทานของหน่วยงานอื่น ๆ ประมาณ 112,358 ไร่

3. การประปา

ปี 2552 จังหวัดลำปางมีสำนักงานประปา รวม 3 แห่ง มีผู้ใช้น้ำ 41,027 ราย ส่วนใหญ่เป็นการใช้น้ำประเภท ที่อยู่อาศัย และการประกอบธุรกิจขนาดเล็ก ตามรายละเอียด ดังนี้

1. สนง.ประปาลำปาง มีผู้ใช้น้ำ 30,802 ราย
2. สนง.ประปาเกาะคา มีผู้ใช้น้ำ 3,834 ราย
3. สนง.ประปาเถิน มีผู้ใช้น้ำ 6,394 ราย

4. ไฟฟ้า

ในปี 2552 การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดลำปาง มีจำนวนการไฟฟ้าทั้งหมด 14 แห่ง กระแสไฟฟ้า ที่ใช้ทั้งสิ้น 697.89 ล้านหน่วย และมีจานวนผู้ใช้ไฟฟ้าทั้งสิ้น 238,379 ราย เพิ่มขึ้นจากปี 2551 จานวน 7,315 ราย

สภาพทางสังคม

1. การศึกษา

ในปีการศึกษา 2552 จังหวัดลำปางมีจานวนสถานศึกษารวมทั้งสิ้น 456 แห่ง แยกเป็นสถานศึกษาของรัฐ 434 แห่ง มีจานวนครู-อาจารย์ 4,640 คน นักเรียน 79,836 คน อัตราส่วนครู-อาจารย์ : นักเรียน-นักศึกษา 1 : 22 โรงเรียนเอกชน 22 แห่ง จานวนครู-อาจารย์ 1,213 คน นักเรียน-นักศึกษา 24,384 คน อัตราส่วนครู-อาจารย์ : นักเรียน-นักศึกษา 1 : 20 ตามรายละเอียด ดังนี้

จำนวนนักเรียน – นักศึกษาของจังหวัดลำปาง ปีการศึกษา 2552

สังกัด

ก่อนประถมฯ
(คน)

ประถมศึกษา (คน)

มัธยมศึกษา
(คน)

อาชีวศึกษาและอุดมศึกษา
(คน)

รวม
(คน)

– สถานศึกษาของรัฐ
– เอกชน

9,137
4,410

33,392
9,706

34,692
8,314

2,615
1,954

79,836
24,384

รวม

13,547

43,098

43,006

4,569

104,220


2. การศาสนา

ประชากรส่วนใหญ่ของจังหวัดลำปางนับถือศาสนาพุทธ คิดเป็นร้อยละ 99 รองลงมา คือ ศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลาม ตามลำดับ

ศาสนา

จำนวนผู้นับถือ
ศาสนา (คน)

พระอารามหลวง
(แห่ง)

วัดราษฎร์
(แห่ง)

วัดร้าง
(แห่ง)

มัสยิด
(แห่ง)

โบสถ์
(แห่ง)

วัดซิก
(แห่ง)

– ศาสนาพุทธ
– ศาสนาอิสลาม
– ศาสนาคริสต์
– ศาสนาฮินดู
/พราหมณ์ และซิก

760,600
442
6,473
81

4


691


104



1



65




1

ปี 2552 จังหวัดลำปางมีวัดมหานิกาย จำนวน 679 วัด และวัดธรรมยุต จำนวน 16 วัด และมีพระภิกษุ จำนวน 2,060 รูป และสามเณร  1,856 รูป  แยกเป็น

ประเภท

มหานิกาย (จำนวนรูป)

ธรรมยุต (จำนวนรูป)

– พระภิกษุ
– สามเณร

1,969
1,845

91
11

ใส่ความเห็น